วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

นาฎศิลป์ไทย

นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ

นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ

1. โขน เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ

2. ละคร เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

3. รำ และ ระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้ 3.1 รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

4. การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมไ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

http://www.thaidances.com/webboard/question.asp?QID=890

slide show

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์






...สุนทรียศาสตร์คืออะไร..
คือ ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การวาดภาพศิลปะ นาฏศิลป์ ดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของตัวบุคคลนั้นว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เช่น เราคนไทยปลูกฝังกิริยามารยาทแบบไทยๆมาตั้งแต่เด็กผู้ใหญ่ก็สอนมาว่ามันงามแต่เมื่อโตขึ้นเราเห็นกิริยาของคนต่างชาติสำหรับเราก็คิดว่ามันไม่งามแต่สำหรับชาวต่างชาติประเพณีของเขาเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว
..มีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร..
ช่วยให้มนุษย์ใช้ปัญญาใช้เหตุผลและมนุษย์เอง มีอุดมคติต่าง ๆ ในด้านความจริง ความดีความงาม และความบริสุทธิ์ทางจิตใจ การมีความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าต่าง ๆ เป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์เท่านั้น ไม่มีปรากฎในหมู่สัตว์เดรัจฉานเลย เพราะคุณค่าเป็นนามธรรมและรูปธรรม มนุษย์เท่านั้นที่จะเข้าใจและซาบซึ้งได้ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักคิด รู้จักเหตุผล มีความรู้สึก จึงมีความต้องการทางด้านจิตใจมากโดยเฉพาะกิจกรรมทางปัญญาและคุณภาพต่าง ๆ คุณภาพหรือคุณค่าจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ มนุษย์ถ้าไม่มีความคงที่จะทำให้เกิดความแตกแยก
..มีความสำคัญต่อวิชาชีพการพยาบาลอย่างไร..
ทำให้เกิดการสร้างความสมดุลของชีวิต โดยถ้าเราเข้าใจตนเองก็จะเข้าใจคนอื่นด้วย















นาฎศิลป์
























ตำนานการฟ้อนรำ




ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่า พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมาก ยุคนี้พระอิศวรทรงเป็นนาฎราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) มีประวัติทั้งในเมืองสวรรค์ และเมืองมนุษย์ โดยมีเรื่องเล่าขานไว้ว่า ฤาษีพวกหนึ่งประพฤติอนาจารฝ่าฝืนเทวบัญชา พระอิศวรทรงขัดเคืองจึงทรงชวนพระนารายณ์เสด็จมายังโลกมนุษย์ เพื่อทรมานฤาษีพวกนั้น เมื่อพระองค์ทรงเห็นพระฤาษีสิ้นฤทธิ์ จึงทรงฟ้อนรำทำปาฏิหาริย์ขึ้น ขณะนั้นมียักษ์ค่อมตนหนึ่งชื่อ "มุยะกะละ (บางตำราเรียกว่า มุยะละคะ หรืออสูรมูลาคนี) มาช่วยพวกฤาษี พระอิศวรจึงทรงเอาพระบาทเหยียบยักษ์ค่อมนั้นไว้ แล้วทรงฟ้อนรำต่อไปจนหมด กระบวนท่าซึ่งร่ายรำในครั้งนี้ทำให้เกิดเทวรูปที่เรียกว่า "ปางนาฏราช" หรือ "ศิวะนาฏราช (Cosmic Dance)" บางทีก็เรียกว่า "ปางปราบอสูรมูลาคนี" เมื่อพระอิศวรทรงทรมานพวกฤาษีจนสิ้นทิฐิ ยอมขอขมาต่อพระเป็นเจ้าทั้งสองแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับเขาไกรลาศ ส่วนพระนารายณ์ก็เสด็จกลับยังเกษียรสมุทร ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นการร่ายรำครั้งที่ ๑ ของพระอิศวร
ต่อมาพระยาอนันตนาคราชซึ่งได้ติดตามพระเป็นเจ้าทั้งสองเมื่อครั้งไปปราบพวกฤาษี ได้เห็นพระอิศวรฟ้อนรำเป็นที่งดงาม จึงใคร่อยากชมพระอิศวรฟ้อนรำอีก พระนารายณ์จึงแนะนำให้ไปบำเพ็ญตบะบูชาพระอิศวรที่เชิงเขาไกรลาศ เพื่อให้พระอิศวรทรงเมตตาประทานพรจึงทูลขอพรให้ได้ดูพระอิศวรทรงฟ้อนรำตามประสงค์ ครั้นเมื่อพระยาอนันตนาคราชบำเพ็ญตบะ จนพระอิศวรเสด็จมาประทานพรที่จะฟ้อนรำให้ดู โดยตรัสว่าจะเสด็จไปฟ้อนรำให้ดูในมนุษยโลก ณ ตำบลจิดรัมบรัม หรือ จิทัมพรัม ซึ่งอยูทางตอนใต้ของอินเดีย เพราะเห็นว่าเมืองนี้เป็นศูนย์กลางของมนุษยโลก พระอิศวรแสดงการฟ้อนรำให้ประชาชนชมถึง ๑๐๘ ท่าด้วยกัน ประชาชนจึงสร้างเทวาลัยขึ้นที่เมืองนี้ เพื่อเป็นที่เคารพบูชาแทนองค์พระอิศวร ภายในเทวาลัยนี้แบ่งออกเป็น ๑๐๘ ช่อง เพื่อแกะสลักท่าร่ายรำของพระอิศวรไว้จนครบ ๑๐๘ ท่า การร่ายรำครั้งนี้ถือเป็นการร่ายรำครั้งที่ ๒ ของพระอิศวร
ในสมัยต่อมาพระอิศวรจะทรงแสดงฟ้อนรำให้เป็นแบบฉบับ จึงเชิญพระอุมาให้ประทับเป็นประธานเหนือสุวรรณบังลังก์ ให้พระสรัสวดีดีดพิณ ให้พระอินทร์เป่าขลุ่ย ให้พระพรหมตีฉิ่ง ให้พระลักษมีขับร้อง และให้พระนารายณ์ตีโทน แล้วพระอิศวรก็ทรงฟ้อนรำให้เทพยดา ฤาษี คนธรรพ์ ยักษ์ และนาคทั้งหลายที่ขึ้นไปเฝ้าได้ชมอีกครั้งหนึ่ง นับเป็นการร่ายรำครั้งที่ ๓ ของพระอิศวร โดยในครั้งนี้พระองค์ทรงให้พระนารทฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำ แล้วนำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์ตำรารำของไทย
ตำรานาฏยศาสตร์ ที่พวกพราหมณ์นำเข้ามาสอนในประเทศไทยนั้น ไม่มีต้นฉบับเหลืออยู่ให้รู้ได้ เข้าใจว่าคงจะได้แปลเป็นภาษาไทยไว้ อาจจะทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน แล้วบอกเล่าสั่งสอนกันต่อๆมาเท่าที่รู้ได้ เพราะมีท่ารำของไทยที่ลักษณะ และชื่อท่ารำคล้ายคลึงกับในตำรานาฏยศาสตร์ ที่แปลงชื่อเป็นภาษาไทยก็มีแต่ต้นฉบับก็่สูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นส่วนมาก ที่คงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันนี้มีตำราท่ารำต่างๆเขียนรูประบายสีปิดทอง ๑ เล่ม เหลืออยู่เฉพาะตอนต้นเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตำราท่ารำเหมือนกับเล่มแรก แต่เขียนฝุ่นเป็นลายเส้น ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๓ มีภาพรำบริบูรณ์ถึง ๖๖ ท่า ได้มาจากพระราชวังบวร ท่ารำ และการเรียงลำดับท่าเหมือนเล่มแรก เข้าใจว่าจะเป็นสำเนาคัดจากเล่มสมัยรัชกาลที่ ๑ นั่นเอง
เข้าใจว่าตำราเช่นนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระวิทยประจง (จ่าง โชติจิตร) ช่างในกรมศิลปากรกับขุนประสิทธิจิตรกรรม (อยู่ ทรงพันธ์) ช่างเขียนในหอพระสมุดฯ ช่วยกันเขียนภาพใหม่ตามแบบท่ารำในตำราเดิม นำมาพิมพ์ไว้ใน "ตำราฟ้อนรำ" เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ ชื่อท่ารำต่างๆในตำราของไทยเรานั้นปะปนกันอยู่ดังนี้ ๑. ชื่อท่ารำที่แปลจากตำราอินเดียโดยตรง ๒. ชื่อท่ารำที่คลาดเคลื่อนจากตำราเดิม เพราะบอกเล่าสืบต่อกันมาหลายต่อ ๓. ชื่อท่ารำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นในภายหลัง



http://www.thaidances.com/data/index.aspom/